วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เบนโตะ

การนำอาหารใส่ในภาชนะบรรจุแล้วหิ้วออกไปทานนอกบ้านนี้ ชาวญี่ปุ่นเขาเรียกกันว่า "เบนโต" หรือ "เบนโตะ" ค่ะ ชื่อเต็มยศของมันคือ "โอเบนโต" (おべんとう) นั่นเอง มีการสันนิษฐานกันว่าคำว่า "ปิ่นโต" ของไทย น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "เปี้ยนตัง" ของจีนและ "เบนโต" ของญี่ปุ่นนี่เอง

เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่มีการพกอาหารไปเป็นเสบียงในตอนที่ออกล่าหาสัตว์ ทำนา ไปจนถึงการออกรบ แต่คำว่า เบนโตะ เพึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1534 โดยแม่ทัพใหญ่ผู้มีชื่อว่า "โอดะ โนบุนากะ" ท่านเลี้ยงผู้ที่อาศัยอยูในปราสาทของท่าน ด้วยการแจกจ่ายอาหารให้แต่ละคน เพื่อให้พกไปเป็นเสบียงในขณะทำงานและยังทำให้ไม่ต้องเสียเวลาตอนนั่งล้อมวงรับประทานอาหารด้วย

จนกระทั่งในยุคเมจิ (明治時代) 1868–1912 ข้าวกล่อง "เอะกิเบนหรือเอะกิเบนโต" (えきべんとう) หรือข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟก็เริ่มแพร่หลายขึ้น ว่ากันว่ามีขายกันครั้งแรกที่สถานีรถไฟ Utsunomiya ในวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 1885 หรือกว่า 123 ปีมาแล้ว เอกิเบน (えきべんとう) มาจากคำว่า "เอกิ" (えき) ที่แปลว่าสถานีรถไฟ กับคำว่า "โอะเบนโตะ" (おべんとう) ที่แปลว่าข้าวกล่อง เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันจึงมีความหมายว่าข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟ นอกจากคำว่าเอกิเบนแล้วยังมีคำว่า "โซระเบน" หรือข้าวกล่องที่ขายตามสนามบิน ซึ่งคำว่า "โซ
 ตัวอย่างร้านขายเบนโตะในสถานีรถไฟที่ญี่ปุ่น


คำว่า "Bento" หรือ "เบนโตะ" ที่แปลว่าอาหารกล่อง ที่ Collins เติมเข้าไปในดิกชันนารีนั้น ถือเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของญี่ปุ่นที่ได้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ขายกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะในคอนวีเนียนสโตร์และตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ทั้งหลาย ซึ่งแข่งกันสุดๆ เพราะว่าจำนวนขายเยอะและที่สำคัญคือกำไรดี กลุ่มเป้าหมายของเบนโตะมักเป็นพนักงานบริษัทโดยเฉพาะสาวๆ และหนุ่มโสด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่มีห้องอาหารภายในบริษัท ส่วนหนุ่มที่แต่งงานแล้วบางคนก็จะมีเบนโตะโฮมเมดมาจากบ้าน ถือเป็นการโชว์ฝีมือปลายจวักของภรรยาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้อื่น

ลูกค้าหลักอีกกลุ่มที่สำคัญของเบนโตะ ก็คือบรรดานักเดินทางทั้งหลายที่เดินทางโดยรถไฟ แต่ละที่ก็มีหนึ่งสถานีหนึ่งผลิตภัณฑ์หากินได้เฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ เบนโตะเหล่านี้มีชื่อเรียกกันว่า "Ekiben" โดยคำว่า "Eki" มาจากคำว่าสถานีรถไฟ "Ben" มาจากคำว่า Bento ส่วนเบนโตะแบบที่ขายดีที่สุดและมีทุกที่ที่ไปคือ Makunouchi เป็นเบนโตะรวมมิตรแบบมาตรฐาน
 
ตัวอย่าง Makunouchi Bento
 
 
ประวัติของเบนโตะหรือข้าวกล่องญี่ปุ่นนั้น เราสามารถย้อนกลับไปได้ไกลจนถึงยุคคามะคูระ (Kamakura ปี 1185-1333) ตอนปลายหรือประมาณ 600 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอาหารแห้งที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Hoshi-ii และในสมัยอาซูชิ-โมโมยามา (Azuchi-Momoyama ปี 1568-1600) ได้มีการผลิตกล่องไม้เบนโตะเหมือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้และเบนโตะก็มักจะรับประทานคู่กันในระหว่างพิธีชงชานับแต่นั้นมา

เบนโตะมาได้รับความนิยมสุดๆ ก็ในช่วงยุค 80s ที่เริ่มมีการใช้เตาไมโครเวฟตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ และภาชนะที่ใส่อาหารได้มีการใช้วัสดุราคาถูกมาผลิตเป็นกล่องเบนโตะ อาทิ โฟมหรือไม้ที่ราคาถูก ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแทนกล่องไม้เคลือบแลกเกอร์ราคาแพงหรือโลหะที่นิยมใช้กันในช่วงยุคแรกๆ และในปี 2003 สนามบินต่างๆ ก็เริ่มมีเบนโตะขายให้แก่ผู้โดยสารซื้อรับประทานระหว่างรอขึ้นเครื่องบินกัน            
                                                          ตัวอย่างกล่องใส่เบนโตะ 
 
 เบนโตะ (弁当 Bentō) หรืออาหารปิ่นโตแบบญี่ปุ่นที่คนไทยนิยมเรียกกันว่า "เบนโตะ" นั้น ถ้าจะแปลตามตัวจะได้ความหมายว่า "อาหารกลางวันระหว่างม่าน" เมื่อชาวญี่ปุ่นไปหาความสำราญจากการดูละครนอกบ้านจะมีการจัดข้าวสวยและกับข้าวออกมาขายเพื่อให้ผู้ชมรับประทานระหว่างที่มีการปิดผ้าม่าน ช่วงละครหยุดพักครึ่งเวลา ในเบนโตะจะประกอบด้วยอาหารมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นอาหารที่ได้จากทะเลบ้าง อาหารจากภูเขาบ้าง รวมทั้งอาหารที่ได้จากท้องถิ่นนั้นๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละชนิดจะทำด้วยเครื่องปรุงหลากหลายและปรุงด้วยวิธีต่างๆ กันไป เช่น "มิโนะโมะ" คือผักต้ม "ยะกิโมะโนะ" คือปลาย่าง "ซุโนะโมะโนะ" คืออาหารประเภทปลาและผักที่แช่น้ำส้มมาแล้ว "อะเงะโมะโนะ" ก็คืออาหารประเภททอด "ซุเกะโมะโนะ" ก็คือผักดอง การเปิดกล่องเบนโตะจึงเป็นเหมือนเรื่องเพลิดเพลินมากสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สำคัญการจัดเรียงยังแสดงให้เห็นถึงสุนทรีย์ทางด้านความงามของคนญี่ปุ่นอย่างชัดเจน

จากข้าวกล่องที่หารับประทานกันตามโรงละคร เบนโตะยังได้พัฒนากลายเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ เพราะมีการเตรียมอาหารใส่กล่องเพื่อความสะดวกสบายต่อการพกพาไปรับประทานนอกบ้านหรือระหว่างการเดินทาง คล้ายกับ "ลันช์บ็อกซ์" (lunch box) ของอเมริกากันแทบทุกบ้าน โดยส่วนมากกล่องที่ใส่จะมีลักษณะเป็นหลุมๆ เหมือนกับถาดหลุม เพื่อจะได้สามารถจัดอาหาร เช่น ข้าวสวย กับข้าว รวมถึงเครื่องเคียงอื่นๆ ใส่ลงในกล่องได้อย่างเป็นสัดส่วน
 
เบนโตะแบ่งออกได้หลายชนิด อาทิ "Sake Bento" เป็นอาหารเบนโตะแบบง่ายๆ ที่มีอาหารหลักเป็นปลาแซลมอนต้มในสาเก "Sushizume" เบนโตะที่มีแต่ซูชิ "Shidashi Bento" เป็นเบนโตะที่เสิร์ฟตามร้านอาหารหรือภัตตาคารและ "Ekiben" เบนโตะยอดนิยมและถือเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "เบนโตะตามสถานีรถไฟ" โดยเบนโตะแบบนี้จะวางขายตามสถานีรถไฟทุกแห่งในญี่ปุ่น เริ่มแพร่หลายตั้งแต่ปลายสมัยเมจิ (ปี 1868-1912) และต้นสมัยทะอิโช (ปี 1912-1926) แต่ละภูมิภาคจะมีเบนโตะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ซึ่งทำให้สามารถอวดรสชาติของท้องถิ่นได้ คล้ายๆ กับอาหารชื่อดังตามภาคหรือจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งถ้าหากชอบรับประทานเบนโตะก็สามารถทัวร์กิน "Ekiben" ไปได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว

อาหารแทบทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นเบนโตะได้ โดยจะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนคือ ส่วนแรกที่ขาดไปเสียมิได้คือ ข้าว ส่วนต่อมาคือ กับข้าว ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหรือปลาเป็นหลัก ส่วนที่ 3 เป็นผัก ซึ่งอาจจะเป็นผักต้มชนิดต่าง ๆ และส่วนสุดท้าย เป็นผักดอง หรือขนมหวาน นอกจากความสะดวกสบายในการพกพาแล้ว เบนโตะยังเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของความรักและความห่วงใยอีกด้วย คุณสายใจ พูนชัย ผู้จัดการห้องอาหารญี่ปุ่นสึ โรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ กล่าวถึงคุณค่าของเบนโตะในแง่ของจิตใจที่มีต่อชาวญี่ปุ่นให้ฟังว่า ในสมัยก่อนนั้น ก่อนที่สามีจะออกจากบ้านเพื่อไปทำไร่ทำนา ฝ่ายภรรยาจะลุกขึ้นมาตระเตรียมอาหารกันแต่เช้าตรู่ เพื่อใส่กล่องให้สามีรับประทานระหว่างพักกลางวัน "อาหารที่อยู่ในเบนโตะนอกจากจะพิถีพิถันในเรื่องของรสชาติแล้ว ยังคำนึงถึงหลักทางโภชนาการอาหารที่ต้องครบทุกหมวดหมู่ เพื่อที่ให้ได้มาซึ่งพละกำลังในการทำงานหนักต่ออีกทั้งวัน เบนโตะจึงเป็นเสมือนตัวแทนความรักความห่วงใยที่ภรรยามีให้ต่อสามีค่ะ" และยามที่เปิดเบนโตะขึ้นมาแล้วเห็นหน้าตาของอาหารที่ภรรยาตั้งใจทำมาให้ก็อาจจะทำให้ฝ่ายสามีหายเหนื่อยได้เป็นปลิดทิ้งทีเดียว
แม้แต่เด็กนักเรียนในประเทศญี่ปุ่นก็มักจะพกเบนโตะไปเป็นอาหารกลางวันที่โรงเรียนและก็บ่อยครั้งที่มักจะแบ่งปันกันรับประทาน ดังนั้นอาหารที่พ่อแม่ใส่กล่องมาให้ลูกนั้นมักจะเตรียมอย่างดีที่สุดค่ะ ต้องมีการจัดอย่างพิถีพิถันและสวยงาม ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงออกให้เห็นได้ถึงฐานะทางสังคมหรือสถานะทางบ้านได้เลยทีเดียว เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนของเด็กหรือคุณครูประจำชั้น ก็ยังสามารถเรียนรู้อุปนิสัยของคุณพ่อคุณแม่ของเด็กคนนั้นได้จากการเตรียมเบนโตะด้วยนั่นเอง ดังนั้นแม้ว่าเบนโตะจะสามารถหาได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่บ้านในญี่ปุ่นจะต้องเตรียมเบนโตะที่มีหน้าตาน่ารับประทานให้เป็นด้วย การจัดเบนโตะถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียวนะคะ โดยปกติแล้วเราจะเห็นว่าในเบนโตะนั้นมีสีสันสวยงามและก็บ่อยครั้งที่เราจะเห็นการนำตุ๊กตาหรือว่าดอกไม้ใบไม้มาจัดลงในกล่องเบนโตะด้วย บ้างก็จะใช้ผ้าลวดลายสวยห่อกล่องเบนโตะไว้อย่างงดงาม
                                                                                     ตัวอย่างเบนโตะสำหรับเด็กๆ   
 
เบนโตะยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรักของคนหนุ่มสาวอีกด้วยนะคะ นับได้ว่าเป็นของขวัญที่จะสามารถสร้างความประทับใจให้แก่คนรักได้มากทีเดียว เมื่อหญิงสาวญี่ปุ่นตกหลุมรักชายหนุ่มแล้วละก็ เธอมักจะแสดงออกโดยการมอบเบนโตะให้เป็นสื่อแทนใจ ซึ่งเราจะเห็นได้ในการ์ตูนญี่ปุ่นโดยทั่วไป ที่เมื่อหญิงสาวตกหลุมรักชายหนุ่มแล้ว มักจะมีการมอบเบนโตะให้กับชายที่ตนตกหลุมรักเหมือนในการ์ตูนเรื่อง "Wedding Peach" ที่ โมโมโกะ มีความพยายามที่จะทำเบนโตะให้แก่ ยานากิบะ ชายรูปงามที่ตนหลงรักแต่แล้ว โยซุเกะ ที่เป็นเพื่อนก็จับได้ว่าโมโมโกะไม่ได้ทำเบนโตะเอง แต่ไปซื้อมาต่างหากและยังมีการกล่าวถึงเบนโตะในลักษณะของสื่อแสดงความรักในการ์ตูนญี่ปุ่นอีกหลายๆ เรื่องด้วยกัน 
นอกจากนี้เบนโตะยังเป็นเครื่องหมายแสดงความรักของ "คู่บ่าวสาว" ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและยังทำเบนโตะให้สามีก็เพื่อแสดงว่าเธอยังรักเขาอยู่อย่างไม่จืดจางอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าจะเลือกผู้หญิงสักคนมาเป็นคนรักหรือภรรยา ก็ให้สังเกตดูจากเบนโตะที่เธอจัดเตรียมมาให้ หากอาหารที่เธอบรรจงตกแต่งออกมาอย่างสวยงามประณีต นั่นก็แสดงว่าเธอนั้นเป็นแม่บ้านแม่เรือนขนานแท้และมีความพิถีพิถันกับการใช้ชีวิต สมควรนำมาเป็นคู่ครอง

ขอขอบคุณขอมูลจาก
http://atcloud.com/stories/73796
http://www.ilovetogo.com/Article.aspx?mid=76&articleid=1060

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น