วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทงคัตสึ


ทงคัตสึ (豚カツ, トンカツ, とんかつ - Tonkatsu) คือ หมูชุบเกล็ดขนมปังทอด อีกหนึ่งเมนูยอดฮิตของญี่ปุ่น ถูกคิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีลักษณะเป็นหมูชุบเกล็ดขนมปังทอด แล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ โดยทั่วไปจะเสิร์ฟพร้อมกะหล่ำปลีและซุปมิโซะเป็นเครื่องเคียง เนื้อหมูที่ใช้มีทั้งเนื้อหมูสันนอกและเนื้อหมูสันใน นำมาหมักปรุงรสตามแต่ละสูตร คลุกแป้ง ชุบไข่ คลุกกับเกล็ดขนมปัง เสร็จแล้วก็นำไปทอดจนสุก เมนูทงคัตสึนี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภทโยโชคุ (洋食 - Youshoku) ที่หมายถึง อาหารญี่ปุ่นสไตล์ตะวันตกค่ะ ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงประมาณปลายศตวรรษที่ 19 ถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยสมัยก่อนเรียกว่า คัตสึเร็ทสึ (カツレツ - Cutlet) หรือ คัตสึ เฉยๆ ค่ะ

ในช่วงแรกคัตสึเร็ทสึทำมาจากเนื้อวัว ว่ากันว่าเริ่มนำเนื้อหมูมาใช้ทำคัตสึเร็ทสึครั้งแรกในปี 1890 ที่ร้านอาหารตะวันตกในย่านกินซ่า โตเกียว และเริ่มเรียกว่า ทงคัตสึ (หมูทอดคัตสึ) ในช่วงปี 1930

ปกติแล้วร้านอาหารส่วนใหญ่จะเสิร์ฟทงคัตสึในสไตล์อาหารชุดญี่ปุ่น คือเสิร์ฟพร้อมกับข้าวสวย, ซุปมิโซะ และของดองต่างๆ ที่เป็นเครื่องเคียง และทานด้วยตะเกียบ เมื่อไม่นานมานี้ ร้านอาหารบางร้านเริ่มเสิร์ฟทงคัตสึในสไตล์ที่เป็นญี่ปุ่นมากขึ้น คือเสิร์ฟทงคัตสึกับพงสุ (ポン酢 - Ponzu) และหัวไชเท้าขูดละเอียด แทนซอสทงคัตสึ 
                                                      ตัวอย่าง Katsu Sandwich
 
 
นอกจากจะเป็นอาหารชุดแล้ว ยังนิยมนำทงคัตสึไปประยุกต์เป็นอาหารอื่นๆ อีกด้วย เช่น คัตสึแซนด์ (カツサンド - Katsu Sandwich) แซนด์วิชไส้ทงคัตสึ, คัตสึคาเร (カツカレー - Katsu Curry) แกงกะหรี่หมูทอดทงคัตสึ และคัตสึด้ง (カツ丼 - Katsudon) ข้าวหน้าหมูทอด

โดยทั่วไป ชาวญี่ปุ่นทานทงคัตสึคู่กับซอสทงคัตสึ มัสตาร์ดญี่ปุ่น และเลมอนหั่นเสี้ยว บางคนก็ชอบทานคู่กับโชยุมากกว่า ในนาโกย่าและเมืองใกล้เคียง มีมิโซะคัตสึ ทงคัตสึกับซอสที่ทำจากมิโซะเป็นอาหารขึ้นชื่อประจำท้องถิ่นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีทงคัตสึอีกหลายแบบที่ไม่ได้ทำจากเนื้อหมู ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไปตามชนิดของเนื้อที่นำมาทำ
  • ชิกเก้นคัตสึ (チキンカツ - Chicken Katsu) ใช้เนื้อไก่แทน มักจะเห็นได้บ่อยในอาหารสไตล์ฮาวายเอี้ยน
  • เมนฉิคัตสึ (メンチカツ - Menchi Katsu) คือ เนื้อบดชุดเกล็ดขนมปังทอด
  • แฮมคัตสึ (ハムカツ - Ham Katsu) ก็คล้ายๆ กับทงคัตสึทั่วไป เพียงแต่ข้างในทำจากแฮมเท่านั้นเอง
  • กิวคัตสึ (牛カツ - Gyukatsu) เรียกอีกชื่อหนึ่งคือ บีฟคัตสึ (ビーフカツ - Beef Katsu) ทำมาจากเนื้อวัวนั่นเอง ได้รับความนิยมมากในแถบคันไซ แถวโอซาก้าและโกเบ 
ส่วนเมนูที่ทำจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้อหมู, เนื้อวัว และเนื้อไก่นี้ จะไม่เรียกว่า คัตสึ แต่จะเรียกว่า ฟราย (フライ - Fry) แทน เช่น ปลาอาจิชุบแป้งทอดเรียกว่า อาจิฟราย (アジフライ - Aji Fry) หรือ เอบิฟราย (エビフライ - Ebi Fry) ซึ่งก็คือกุ้งทอดนั่นเอง 






ภาพทงคัตสึแบบต่างๆ
ทงคัตสึมีราคาตั้งแต่ประมาณ 200 เยน เป็นทงคัตสึสำเร็จรูปให้นำมาทอดเองที่วางขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ไปจนถึงราคามากกว่า 5,000 เยน ในภัตตาคารชั้นสูง กล่าวกันว่า ทงคัตสึที่ดีที่สุดคือ ทงคัตสึที่ทำมาจากเนื้อคุโรบุตะ (黒豚 - Kurobuta) หรือเนื้อหมูดำ จากคาโกชิมะ เกาะคิวชู
 
วิธีทำหมูทงคัตสึ
สูตรที่ 1

วัตถุดิบ
1. เนื้อหมู (เลือกเนื้อสันใน) 1 ชิ้น
2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
3. แป้งชุปทอด ½ ถ้วย
4. เกล็ดขนมปัง เล็กนเอย 
5. ซีอิ๊วขาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ 
6. กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. เนื้อหมูทุบให้เป็นชิ้นบางสักหน่อย หมักเนื้อหมูกับซีอิ๊วและกระเทียมสับละเอียด
2. ไข่ไก่ตีพอแตกไว้ นำชิ้นหมูคลุกกับแป้ง และเคาะเบาๆ เอาแป้งส่วนเกินออกไป 
3. นำเนื้อหมูที่คลุกกับแป้งแล้ว มาชุปกับไข่ จากนั้นนำไปคลุกกับเกล็ดขนมปังให้ทั่ว 
4. ตั้งกระทะใส่น้ำมันลงในกระทะ รอให้น้ำมันจัด ใส่หมูลงไปทอดให้เหลืองทั้งสองด้าน 
5. หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ (ใหญ่สักหน่อย) จัดใส่จานกินกับ ซีอิ๊วญี่ปุ่น ซอสมะเขือเทศหรือมายองเนส

สูตรที่ 2

 
วัตถุดิบ
1. เนื้อหมูสันนอกสไลด์
2. พริกไทย
3. เกลือ
4. ไข่ไก่
5. แป้งสาลีเอนกประสงค์
6. เกล็ดขนมปัง

วิธีทำ
1. นำเนื้อหมูสันนอกสไลด์มาทุบทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ได้เนื้อหมูที่นิ่มค่ะ
2. เพิ่มรสชาติด้วยเกลือและพริกไทยป่นบนหมูทั้ง 2 ด้าน
3. หลังจากปรุงรสให้เนื้อหมูแล้ว นำเนื้อหมูมาคลุกกับแป้งสาลีเอนกประสงค์ที่เตรียมไว้
4. ต่อด้วยนำมาชุบไข่ไก่ และสุดท้ายนำมาคลุกกับเกล็ดขนมปัง
5. ตั้งกระทะรอน้ำมันให้ร้อน นำเนื้อหมูที่เตรียมไว้ลงทอด ใช้ไฟปานกลางทอดให้ได้สีเหลืองทอง
6. ทอดเสร็จแล้วนำมาพักไว้ที่กระดาษเพื่อซับน้ำมัน นำหมูทอดทงคัตสึมาหั่นเป็นชิ้นๆ
7. จัดแต่งจานด้วยกระหล่ำปลีซอยราดซอสครีมสลัดให้สวยงาม หรือราดซอสทงคัตสึเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ค่ะ

วิธีทำซอสทงคัตสึ
ส่วนผสม 
1. ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
3. คิโคแมน ถ้าไม่มีก็ซอสแม็กกี้ 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำตาลทรายแดง 1-2 ช้อนโต๊ะ ถ้าไม่มีก็น้ำตาลทรายขาวก็ได้ค่ะ
5. ขิงผง
6. น้ำนิดหน่อย

วิธีทำ 
เอาส่วนผสมทุกอย่างมาผสมรวมกันแล้วนำไปตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้ข้นจนได้ที่ วิธีการดูว่าได้ที่หรือยังก็คือ เมื่อซอสเคลือบช้อนแล้วก​็เป็นอันใช้ได้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.jfoodsbkk.namjai.cc/e51679.html
http://www.อาหารอร่อย.com/หมูอด-ทงคัตสึ.html
http://th.openrice.com/recipe/detail.htm?recipeid=1045
http://www.mangmouth.com/index.php?topic=2669.0

เบนโตะ

การนำอาหารใส่ในภาชนะบรรจุแล้วหิ้วออกไปทานนอกบ้านนี้ ชาวญี่ปุ่นเขาเรียกกันว่า "เบนโต" หรือ "เบนโตะ" ค่ะ ชื่อเต็มยศของมันคือ "โอเบนโต" (おべんとう) นั่นเอง มีการสันนิษฐานกันว่าคำว่า "ปิ่นโต" ของไทย น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "เปี้ยนตัง" ของจีนและ "เบนโต" ของญี่ปุ่นนี่เอง

เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่มีการพกอาหารไปเป็นเสบียงในตอนที่ออกล่าหาสัตว์ ทำนา ไปจนถึงการออกรบ แต่คำว่า เบนโตะ เพึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1534 โดยแม่ทัพใหญ่ผู้มีชื่อว่า "โอดะ โนบุนากะ" ท่านเลี้ยงผู้ที่อาศัยอยูในปราสาทของท่าน ด้วยการแจกจ่ายอาหารให้แต่ละคน เพื่อให้พกไปเป็นเสบียงในขณะทำงานและยังทำให้ไม่ต้องเสียเวลาตอนนั่งล้อมวงรับประทานอาหารด้วย

จนกระทั่งในยุคเมจิ (明治時代) 1868–1912 ข้าวกล่อง "เอะกิเบนหรือเอะกิเบนโต" (えきべんとう) หรือข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟก็เริ่มแพร่หลายขึ้น ว่ากันว่ามีขายกันครั้งแรกที่สถานีรถไฟ Utsunomiya ในวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 1885 หรือกว่า 123 ปีมาแล้ว เอกิเบน (えきべんとう) มาจากคำว่า "เอกิ" (えき) ที่แปลว่าสถานีรถไฟ กับคำว่า "โอะเบนโตะ" (おべんとう) ที่แปลว่าข้าวกล่อง เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันจึงมีความหมายว่าข้าวกล่องที่ขายตามสถานีรถไฟ นอกจากคำว่าเอกิเบนแล้วยังมีคำว่า "โซระเบน" หรือข้าวกล่องที่ขายตามสนามบิน ซึ่งคำว่า "โซ
 ตัวอย่างร้านขายเบนโตะในสถานีรถไฟที่ญี่ปุ่น


คำว่า "Bento" หรือ "เบนโตะ" ที่แปลว่าอาหารกล่อง ที่ Collins เติมเข้าไปในดิกชันนารีนั้น ถือเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของญี่ปุ่นที่ได้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ขายกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะในคอนวีเนียนสโตร์และตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ทั้งหลาย ซึ่งแข่งกันสุดๆ เพราะว่าจำนวนขายเยอะและที่สำคัญคือกำไรดี กลุ่มเป้าหมายของเบนโตะมักเป็นพนักงานบริษัทโดยเฉพาะสาวๆ และหนุ่มโสด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่มีห้องอาหารภายในบริษัท ส่วนหนุ่มที่แต่งงานแล้วบางคนก็จะมีเบนโตะโฮมเมดมาจากบ้าน ถือเป็นการโชว์ฝีมือปลายจวักของภรรยาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้อื่น

ลูกค้าหลักอีกกลุ่มที่สำคัญของเบนโตะ ก็คือบรรดานักเดินทางทั้งหลายที่เดินทางโดยรถไฟ แต่ละที่ก็มีหนึ่งสถานีหนึ่งผลิตภัณฑ์หากินได้เฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ เบนโตะเหล่านี้มีชื่อเรียกกันว่า "Ekiben" โดยคำว่า "Eki" มาจากคำว่าสถานีรถไฟ "Ben" มาจากคำว่า Bento ส่วนเบนโตะแบบที่ขายดีที่สุดและมีทุกที่ที่ไปคือ Makunouchi เป็นเบนโตะรวมมิตรแบบมาตรฐาน
 
ตัวอย่าง Makunouchi Bento
 
 
ประวัติของเบนโตะหรือข้าวกล่องญี่ปุ่นนั้น เราสามารถย้อนกลับไปได้ไกลจนถึงยุคคามะคูระ (Kamakura ปี 1185-1333) ตอนปลายหรือประมาณ 600 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอาหารแห้งที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Hoshi-ii และในสมัยอาซูชิ-โมโมยามา (Azuchi-Momoyama ปี 1568-1600) ได้มีการผลิตกล่องไม้เบนโตะเหมือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้และเบนโตะก็มักจะรับประทานคู่กันในระหว่างพิธีชงชานับแต่นั้นมา

เบนโตะมาได้รับความนิยมสุดๆ ก็ในช่วงยุค 80s ที่เริ่มมีการใช้เตาไมโครเวฟตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ และภาชนะที่ใส่อาหารได้มีการใช้วัสดุราคาถูกมาผลิตเป็นกล่องเบนโตะ อาทิ โฟมหรือไม้ที่ราคาถูก ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแทนกล่องไม้เคลือบแลกเกอร์ราคาแพงหรือโลหะที่นิยมใช้กันในช่วงยุคแรกๆ และในปี 2003 สนามบินต่างๆ ก็เริ่มมีเบนโตะขายให้แก่ผู้โดยสารซื้อรับประทานระหว่างรอขึ้นเครื่องบินกัน            
                                                          ตัวอย่างกล่องใส่เบนโตะ 
 
 เบนโตะ (弁当 Bentō) หรืออาหารปิ่นโตแบบญี่ปุ่นที่คนไทยนิยมเรียกกันว่า "เบนโตะ" นั้น ถ้าจะแปลตามตัวจะได้ความหมายว่า "อาหารกลางวันระหว่างม่าน" เมื่อชาวญี่ปุ่นไปหาความสำราญจากการดูละครนอกบ้านจะมีการจัดข้าวสวยและกับข้าวออกมาขายเพื่อให้ผู้ชมรับประทานระหว่างที่มีการปิดผ้าม่าน ช่วงละครหยุดพักครึ่งเวลา ในเบนโตะจะประกอบด้วยอาหารมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นอาหารที่ได้จากทะเลบ้าง อาหารจากภูเขาบ้าง รวมทั้งอาหารที่ได้จากท้องถิ่นนั้นๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละชนิดจะทำด้วยเครื่องปรุงหลากหลายและปรุงด้วยวิธีต่างๆ กันไป เช่น "มิโนะโมะ" คือผักต้ม "ยะกิโมะโนะ" คือปลาย่าง "ซุโนะโมะโนะ" คืออาหารประเภทปลาและผักที่แช่น้ำส้มมาแล้ว "อะเงะโมะโนะ" ก็คืออาหารประเภททอด "ซุเกะโมะโนะ" ก็คือผักดอง การเปิดกล่องเบนโตะจึงเป็นเหมือนเรื่องเพลิดเพลินมากสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สำคัญการจัดเรียงยังแสดงให้เห็นถึงสุนทรีย์ทางด้านความงามของคนญี่ปุ่นอย่างชัดเจน

จากข้าวกล่องที่หารับประทานกันตามโรงละคร เบนโตะยังได้พัฒนากลายเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ เพราะมีการเตรียมอาหารใส่กล่องเพื่อความสะดวกสบายต่อการพกพาไปรับประทานนอกบ้านหรือระหว่างการเดินทาง คล้ายกับ "ลันช์บ็อกซ์" (lunch box) ของอเมริกากันแทบทุกบ้าน โดยส่วนมากกล่องที่ใส่จะมีลักษณะเป็นหลุมๆ เหมือนกับถาดหลุม เพื่อจะได้สามารถจัดอาหาร เช่น ข้าวสวย กับข้าว รวมถึงเครื่องเคียงอื่นๆ ใส่ลงในกล่องได้อย่างเป็นสัดส่วน
 
เบนโตะแบ่งออกได้หลายชนิด อาทิ "Sake Bento" เป็นอาหารเบนโตะแบบง่ายๆ ที่มีอาหารหลักเป็นปลาแซลมอนต้มในสาเก "Sushizume" เบนโตะที่มีแต่ซูชิ "Shidashi Bento" เป็นเบนโตะที่เสิร์ฟตามร้านอาหารหรือภัตตาคารและ "Ekiben" เบนโตะยอดนิยมและถือเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "เบนโตะตามสถานีรถไฟ" โดยเบนโตะแบบนี้จะวางขายตามสถานีรถไฟทุกแห่งในญี่ปุ่น เริ่มแพร่หลายตั้งแต่ปลายสมัยเมจิ (ปี 1868-1912) และต้นสมัยทะอิโช (ปี 1912-1926) แต่ละภูมิภาคจะมีเบนโตะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ซึ่งทำให้สามารถอวดรสชาติของท้องถิ่นได้ คล้ายๆ กับอาหารชื่อดังตามภาคหรือจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งถ้าหากชอบรับประทานเบนโตะก็สามารถทัวร์กิน "Ekiben" ไปได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว

อาหารแทบทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นเบนโตะได้ โดยจะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนคือ ส่วนแรกที่ขาดไปเสียมิได้คือ ข้าว ส่วนต่อมาคือ กับข้าว ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหรือปลาเป็นหลัก ส่วนที่ 3 เป็นผัก ซึ่งอาจจะเป็นผักต้มชนิดต่าง ๆ และส่วนสุดท้าย เป็นผักดอง หรือขนมหวาน นอกจากความสะดวกสบายในการพกพาแล้ว เบนโตะยังเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของความรักและความห่วงใยอีกด้วย คุณสายใจ พูนชัย ผู้จัดการห้องอาหารญี่ปุ่นสึ โรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ กล่าวถึงคุณค่าของเบนโตะในแง่ของจิตใจที่มีต่อชาวญี่ปุ่นให้ฟังว่า ในสมัยก่อนนั้น ก่อนที่สามีจะออกจากบ้านเพื่อไปทำไร่ทำนา ฝ่ายภรรยาจะลุกขึ้นมาตระเตรียมอาหารกันแต่เช้าตรู่ เพื่อใส่กล่องให้สามีรับประทานระหว่างพักกลางวัน "อาหารที่อยู่ในเบนโตะนอกจากจะพิถีพิถันในเรื่องของรสชาติแล้ว ยังคำนึงถึงหลักทางโภชนาการอาหารที่ต้องครบทุกหมวดหมู่ เพื่อที่ให้ได้มาซึ่งพละกำลังในการทำงานหนักต่ออีกทั้งวัน เบนโตะจึงเป็นเสมือนตัวแทนความรักความห่วงใยที่ภรรยามีให้ต่อสามีค่ะ" และยามที่เปิดเบนโตะขึ้นมาแล้วเห็นหน้าตาของอาหารที่ภรรยาตั้งใจทำมาให้ก็อาจจะทำให้ฝ่ายสามีหายเหนื่อยได้เป็นปลิดทิ้งทีเดียว
แม้แต่เด็กนักเรียนในประเทศญี่ปุ่นก็มักจะพกเบนโตะไปเป็นอาหารกลางวันที่โรงเรียนและก็บ่อยครั้งที่มักจะแบ่งปันกันรับประทาน ดังนั้นอาหารที่พ่อแม่ใส่กล่องมาให้ลูกนั้นมักจะเตรียมอย่างดีที่สุดค่ะ ต้องมีการจัดอย่างพิถีพิถันและสวยงาม ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงออกให้เห็นได้ถึงฐานะทางสังคมหรือสถานะทางบ้านได้เลยทีเดียว เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนของเด็กหรือคุณครูประจำชั้น ก็ยังสามารถเรียนรู้อุปนิสัยของคุณพ่อคุณแม่ของเด็กคนนั้นได้จากการเตรียมเบนโตะด้วยนั่นเอง ดังนั้นแม้ว่าเบนโตะจะสามารถหาได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่บ้านในญี่ปุ่นจะต้องเตรียมเบนโตะที่มีหน้าตาน่ารับประทานให้เป็นด้วย การจัดเบนโตะถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียวนะคะ โดยปกติแล้วเราจะเห็นว่าในเบนโตะนั้นมีสีสันสวยงามและก็บ่อยครั้งที่เราจะเห็นการนำตุ๊กตาหรือว่าดอกไม้ใบไม้มาจัดลงในกล่องเบนโตะด้วย บ้างก็จะใช้ผ้าลวดลายสวยห่อกล่องเบนโตะไว้อย่างงดงาม
                                                                                     ตัวอย่างเบนโตะสำหรับเด็กๆ   
 
เบนโตะยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรักของคนหนุ่มสาวอีกด้วยนะคะ นับได้ว่าเป็นของขวัญที่จะสามารถสร้างความประทับใจให้แก่คนรักได้มากทีเดียว เมื่อหญิงสาวญี่ปุ่นตกหลุมรักชายหนุ่มแล้วละก็ เธอมักจะแสดงออกโดยการมอบเบนโตะให้เป็นสื่อแทนใจ ซึ่งเราจะเห็นได้ในการ์ตูนญี่ปุ่นโดยทั่วไป ที่เมื่อหญิงสาวตกหลุมรักชายหนุ่มแล้ว มักจะมีการมอบเบนโตะให้กับชายที่ตนตกหลุมรักเหมือนในการ์ตูนเรื่อง "Wedding Peach" ที่ โมโมโกะ มีความพยายามที่จะทำเบนโตะให้แก่ ยานากิบะ ชายรูปงามที่ตนหลงรักแต่แล้ว โยซุเกะ ที่เป็นเพื่อนก็จับได้ว่าโมโมโกะไม่ได้ทำเบนโตะเอง แต่ไปซื้อมาต่างหากและยังมีการกล่าวถึงเบนโตะในลักษณะของสื่อแสดงความรักในการ์ตูนญี่ปุ่นอีกหลายๆ เรื่องด้วยกัน 
นอกจากนี้เบนโตะยังเป็นเครื่องหมายแสดงความรักของ "คู่บ่าวสาว" ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและยังทำเบนโตะให้สามีก็เพื่อแสดงว่าเธอยังรักเขาอยู่อย่างไม่จืดจางอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าจะเลือกผู้หญิงสักคนมาเป็นคนรักหรือภรรยา ก็ให้สังเกตดูจากเบนโตะที่เธอจัดเตรียมมาให้ หากอาหารที่เธอบรรจงตกแต่งออกมาอย่างสวยงามประณีต นั่นก็แสดงว่าเธอนั้นเป็นแม่บ้านแม่เรือนขนานแท้และมีความพิถีพิถันกับการใช้ชีวิต สมควรนำมาเป็นคู่ครอง

ขอขอบคุณขอมูลจาก
http://atcloud.com/stories/73796
http://www.ilovetogo.com/Article.aspx?mid=76&articleid=1060

ซูชิ


ซูชิ (寿司 sushi ซุชิ และมีการเขียนหลายแบบ ได้แก่ すし/鮨/鮓/寿斗/寿し/壽司 ?) หรือข้าวปั้นมีหน้าค่ะ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชูและกินคู่กับปลา เนื้อหรือของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ "ซูชิเมะชิ" (寿司飯 ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆ และหน้าที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล กุ้ง ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบหรือเนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่นและซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิ บนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น ซูชิ หมายถึงการรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่นคำว่า "ซูชิ" นิยมหมายถึง "นิงิริซูชิ" ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น






ประเภทของซูชิ

  • นิงิริซูชิ (Nigiri Sushi) เป็นซูชิที่พบได้บ่อยในภัตตาคาร ซูชิจะมีลักษณะข้าวเป็นก้อนรูปวงรีแล้ววางเนื้อปลาดิบ ปลาหมึก ฯลฯ ไว้ข้างบน อาจจะใส่วาซาบิเล็กน้อย หรือว่าตกแต่งด้วยสาหร่ายทะเลก็ได้ค่ะ ซูชิแบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด
  • มากิซูชิ (Maki Sushi) มีวิธีทำอยู่ 3 แบบด้วยกันนะคะ 1. ม้วนข้าวไว้ด้านในสาหร่ายทะเลอยู่ด้านนอก 2. ม้วนสลับกับแบบแรกโดยที่สาหร่ายอยู่ด้านในส่วนข้าวอยู่ด้านนอก 3. ห่อเป็นรูปกรวย หรือที่เรียกว่า แคลิฟอร์เนียเทมากิ
  • ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi) เป็นการจัดปลาดิบ ปลาหมึก กุ้ง ผัก ฯลฯ ที่หั่นเป็นชิ้นๆ วางเรียงบนข้าวที่ใส่อยู่ในกล่อง
  • โอชิซูชิ (Oshi Sushi) หรือรูปแบบคันไซจากเมืองโอซาก้า ที่เอาข้าวมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาวหั่นขนาดพอดีให้รับประทาน เป็นคำๆ แล้ววางเนื้อปลาไว้ด้านบน
  • อินะริซูชิ ซูชิที่นำเนื้อมาใส่ในเต้าหู้ที่มีลักษณะเป็นถุง
  • สุงะตะซูชิ (Sugata Sushi) ซูชิที่ใช้ปลาทั้งตัวมาหั่นแล้วนำเนื้อมาวางบนข้าว


     
    ตัวอย่างซูชิหน้าต่างๆ


    สูตรข้าวปั้นซูชิ 

    ส่วนผสม
    1.ข้าวสารญี่ปุ่น 1 กิโลกรัม
    2.น้ำเปล่า (สำหรับหุงข้าว) 1 กิโลกรัม 

    วิธีทำ
    1. ซาวข้าวสารตามปกติ แล้วแช่น้ำเปล่าไว้ 15 นาที หลังจากนั้นพักให้ข้าวสะเด็ดน้ำอีก 15 นาที
    2. นำข้าวสารใส่หม้อหุงข้าว เติมน้ำเปล่า เปิดสวิตช์หุงตามปกติ พอข้าวสุกพักให้ระอุประมาณ 5 – 10 นาที

    น้ำส้มทำข้าวซูชิ 

    ส่วนผสม
    1.น้ำส้มญี่ปุ่น 900 กรัม
    2.น้ำตาลทราย 750 กรัม
    3.มิริน 20 กรัม
    4.สาเก 20 กรัม
    5.เกลือป่น (ไทย) 150 กรัม
    6.สาหร่ายคอมบุ 1 ชิ้นเล็ก

    วิธีทำ
    1. นำน้ำส้มญี่ปุ่น น้ำตาลทรายและเกลือป่นผสมให้เข้ากัน ใส่สาเกและมิรินลงไปคนผสมให้เข้ากัน
    2. ใส่คอมบุ นำไปตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็น

    วิธีผสมข้าวซูชิ
    1. นำข้าวที่สุกแล้วกำลังร้อน (1,000 กรัม) ใส่ภาชนะขนาดกลาง แล้วนำน้ำส้มที่ต้มแล้ว 120 กรัม มาพรมใส่คลุกเคล้าให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำไปปั้นเป็นข้าวหน้าต่างๆ ได้

    หมายเหตุ: การผสมข้าวซูชิ ต้องใช้ ข้าวร้อนๆ ผสมกับน้ำส้มซูชิเย็นๆ เท่านั้น มิฉะนั้นจะทำให้ข้าวที่ผสมลงไปนั้นแฉะเกินไปขออธิบายแบบคร่าวๆ นะคะ น้ำส้มที่เหลือจากการพรมในข้าวสามารถเก็บไว้ได้ค่ะ โดยคุณต้องเก็บในตู้เย็น (นานหลายเดือนทีเดียว) แต่ถ้าคุณไม่อยากเก็บไว้สามารถลดทอนส่วนผสมได้ค่ะ เพราะจากอัตราส่วนผสมที่ให้ไปนี้ สามารถทำข้าวปั้นได้ประมาณ 4-5 กิโลกรัมค่ะ ข้อแนะนำอีกอย่างนะคะ คุณไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำส้มญี่ปุ่นก็ได้นะคะ เพราะว่าสามารถใช้น้ำส้มหมักของไทยแทนได้ (มีสีออกเหลือง) ขวดละ 20 – 30 บาท ราคาจะถูกว่าและรสชาติใกล้เคียงกันค่ะ

    ไข่กุ้งที่ทำซูชิคืออะไร? ไข่กุ้งที่เป็นหน้าซูชิก็คือ "โทบิโกะ" (Tobiko) หรือไข่ของปลา "Flying Fish" พบได้ตามชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลำตัวมีความยาว 35 ซ.ม. ซึ่งจับได้ในช่วงเวลาวางไข่ของต้นฤดูร้อน ไข่ของปลา Flying Fish มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-0.8 ม.ม. ตามปกติจะมีสีส้มแดง รสออกเค็มอ่อนๆ บางครั้งนำไปย้อมเป็นสีอื่น เช่นย้อมวาซาบิจะได้ไข่สีเขียว ย้อมขิงจะได้ไข่สีส้มหรือย้อมกับหมึกของปลาหมึกจะได้สีดำ ไข่กุ้งนิยมนำมาทำ "แคลิฟอร์เนียโรลซูชิ" และ "คานาเป้" เป็นต้น
    ตัวอย่างซูชิแบบน่ารัก

    ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับซูชิก็คือ ซูชิ มีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น โดยการนำปลาดิบที่ล้างจนสะอาดแล้วมาหมักกับเกลือและส่วนผสมต่างๆ และรอจนได้ที่ จากนั้นก็นำปลาดิบที่หมักเสร็จแล้ว มารับประทานพร้อมกับข้าว นี่เองที่ทำให้หลายๆ คนเข้าใจไปว่า ซูชิ คือปลาดิบ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดค่ะ อันที่จริง ซาซิมิ (Sashimi) ต่างหากที่คือปลาดิบ และ ซูชิ (Sushi) หมายถึงการรวมกันระหว่างปลากับข้าวค่ะ

    เมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ได้มีผู้ที่คิดค้นสูตรการทำซูชิขึ้นใหม่ ซึ่งคล้ายคลึงกับซูชิที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็คือ คุณโยเฮอิ (Yohei) ค่ะ ซึ่งซูชิในอดีตนั้น มี 2 รูปแบบคือ 1. รูปแบบคันไซ (Kansai Style) มาจากจังหวัดโอซาก้า (Osaka) ที่เป็นเมืองสำคัญทางการค้ามาเนิ่นนานแล้ว และมีชื่อเสียงด้านการค้าข้าวด้วยและปัจจุบันเรารู้จักซูชิแบบนี้กันในชื่อ "โอชิซูชิ" 2. รูปแบบเอโดะ (Edo Style) มาจากโตเกียว ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเอโดะอันรุ่งเรืองในอดีต และเป็นที่มาของ "นิงิริซูชิ" ที่แพร่หลายไปทั่วโลกเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด